องค์การบริหารส่วนตำบลนาสี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู : www.nasee.go.th

 
 
อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล 

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..๒๕๖๒

องค์การบริหารส่วนตำบล

  1. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล : มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

  2. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม : การจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง

 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล 

มาตรา ๖๖  องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

มาตรา ๖๗  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(๑)  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยบ การดูแลการจราจร และส่งเสริมสันับสนุนหน่วยงานอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

(๒)  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(๓)  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

(๔)  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๕)  จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนันสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

(๖)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(๗)  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๘)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

[อนุ () (ของมาตรา ๖๗ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ .๒๕๔๒]

มาตรา ๖๘  ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(๑)  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

(๒)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(๓)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

(๔)  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

(๕)  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

(๖)  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

(๗)  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

(๘)  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(๙)  หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

(๑๒) การท่องเที่ยว

(๑๓) การผังเมือง

[อนุ (๑๒) (๑๓ของมาตรา ๖๘ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ .๒๕๔๒]

ภารกิจ  อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสี

                                การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสีนั้น  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา  ร่วมสร้าง ร่วมจัดทำ  ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสี  ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน  การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสีจะสมบูรณ์ได้  จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่  เกิดความตระหนัก  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง  องค์การบริหารส่วนตำบลนาสีได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร  นอกจากนี้ยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนและพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาตำบลและจังหวัดให้มีคุณภาพ  โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา  ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น  จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  พึ่งพาตนเองในท้องถิ่น  และยังจัดตั้งระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวมด้วย

                                การวิเคราะห์ภารกิจ  อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสี  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.  2537  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  2542  และรวบรวมกฎหมายอื่นของ อบต.  ใช้เทคนิค SWOT  เข้ามาช่วย  ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร  โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน  โอกาส  และความเสี่ยง  ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลนาสี  กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล  นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น  ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน  ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  2537  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.  2542  ดังนี้

                1.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

(1)  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก  (มาตรา 67(1))

                   (2)  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร  (มาตรา  68(1))

                                (3)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น  (มาตรา  68(2))

                                (4)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))

                                (5)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา  16(4-5))

                2.  ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

                     (1)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี  เด็ก  เยาวชน  ผู้สูงอายุและผู้พิการ    (มาตรา 67 (6)

                     (2)  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67 (3))

                     (3)  ให้มีการบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ  (มาตรา  68 (4))

                     (4)  การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16 (10)

                     (5)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16 (2))

                     (6)  การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))

                                (7)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล  (มาตรา 16(19))

                3.  ด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา67(4))

                     (2)  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8))

                     (3)  การผังเมือง (มาตรา 68(13))

                     (4)  จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16(3))

                     (5)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))

                     (6)  การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))

            4.  ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน  พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

                (1)  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))

                (2)  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))

                (3)  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))

                (4)  ให้มีตลาด (มาตรา 68(10))

                (5)  การท่องเที่ยว  (มาตรา 68(12))

                (6)  กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา 68(11))

                (7)  การส่งเสริมการฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))

                (8)  การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7)

            5.  ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

                (1)  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (มาตรา 67(7))

                (2)  รักษาความสะอาดของถนน  ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))

                (3)  การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ (มาตรา 17(12))

            6.  ด้านการศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                (1)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8))

                (2)  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาแลวัฒนธรรม (มาตรา 16(9))

          (3)  การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))

                (4)  การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณีและวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา 17(18))

            7.  ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้

                (1)  สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 45(3))

                (2)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา 67(6))

                (3)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา 16(16))

          (4)  การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17 (16))

                ภารกิจทั้ง  7  ด้าน  ตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสีได้เป็นอย่างดี  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่  ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาตำบลนโยบายของรัฐและนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสีเป็นสำคัญ

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ

                องค์การบริหารส่วนตำบลนาสี มีภารกิจหลักและภารกิจรองที่ต้องดำเนินการ  ดังนี้

ภารกิจหลัก

                1.  การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น  ถนน  สะพาน  ทางระบายน้ำ  เป็นต้น

                2.  การปรับปรุงและพัฒนาสาธารณูปโภค  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำประปา  เป็นต้น

                3.  การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และสาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                4.  การป้องกันและระงับโรคติดต่อ

                5.  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                6.  การพัฒนาและปรับปรุงการเมืองและการบริหาร

                7.  การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

                8.  การส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพและการเพิ่มรายได้แก่ราษฎร

                9.  การฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                10.  การสังคมสงเคราะห์  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก  สตรี  คนชรา  คนพิการและผู้ด้อยโอกาส

                11.  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

                12.  การส่งเสริมและพัฒนากิจการกีฬาและศูนย์เยาวชน

                13.  การส่งเสริมการเกษตรและประกอบอาชีพทางการเกษตร

                14.  การพัฒนารายได้  และหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.

                15.  การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล

                16.  การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ภารกิจรอง

                1.  การจัดระเบียบชุมชน  สังคมและการรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และการอนามัย  โรงมหรสพ  และสาธารณสถานอื่นๆ

                2.  การคุ้มครองดูแล  และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                3.  การวางแผน  การส่งเสริมการลงทุนประกอบการค้า